หัวเรื่อง

จากเกมส์ดัง Warcraft สู่โมเดลกระดาษสุดเจ๋ง
สำหรับคนชื่นชอบ DotA หรือ Defense of the Ancients ผู้คิดริเริ่มและออกแบบคนแรก คือ Hannes X เป็นชาวสวีเดน
เว็บไซต์นี้ได้รวบรวมโมเดลกระดาษของฮีโร่ที่ท่านชื่นชอบ มาให้ทดลองทำแล้ว อัพเดททุกวัน

แนะนำ

สำหรับผู้เริ่มต้น ไม่ยากครับ เพียงท่านมี 2 อย่างหลักๆดังต่อไปนี้

อุปกรณ์
1. กระดาษขนาด A4 กระดาษที่ผมแนะนำก็คือ กระดาษโฟโต้ครับ ผมใช้อยู่ที่ 170-190 แกรม กะลังดี หากใครหาไม่ได้จริงๆใช้ A4 ธรรมดาแทนก็ได้ครับ

2. คัตเตอร์และแผ่นรองกรีด คัตเตอร์สำหรับตัดโมเดลครับ ควรเลือกใบมีดที่คมเป็นพิเศษ เพื่อการตัดที่มีประสิทธิภาพ ทำให้โมเดลไม่เสียหายด้วยครับ ที่สำคัญคือ ควรมีแผ่นรองกรีดด้วย หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไปครับ

3. กาว ผมเลือกใช้กาวลาเท็กซ์ธรรมดานี่ล่ะครับ แนะนำของ TOA

4. กรรไกร สำหรับตัดชิ้นส่วนเล็กๆที่คัตเตอร์ไม่สามารถตัดได้ครับ

5.ปริ๊นเตอร์ ก็สำหรับปริ๊นกระดาษแหล่ะครับ หรือหลายท่าน อาจจะปริ๊นร้านก็ไม่ว่ากันครับ


ต่อไปเป็นโปรแกรมสำคัญสำหรับการทำโมเดลครับ

1 Adobe Reader สำหรับอ่านไฟล์ .pdf >>>>>Download

2 Pepakura Viewer 3 สำหรับอ่านไฟล์.pdo
(สำหรับดูชิ้นส่วนโมเดล) >>>>>Download



มาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กันดีกว่า เมื่อพร้อมแล้วก็ลุยกันได้เลย!!

หัว

หัว

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

กระดาษที่เหมาะกับงาน Papercraft & Tips

 

การทำโมเดลกระดาษที่ดีควรเลือกใช้กระดาษอย่างไร  

และมีเทคนิคอย่างไรบ้าง  วันนี้ผมมีมาบอกครับ 


กระดาษที่เหมาะสำหรับ Paper model

       สำหรับกระดาษที่ใช้กันทั่วไป จะใช้กระดาษขนาด 80 แกรม ซึ่งความบางมากๆ 
กระดาษ 80 แกรม นี้ สามารถทำโมเดลกระดาษได้ครับ แต่ความอ่อน ตัวของกระดาษจะทำให้ 
PaperModel ของเรา ต่อลำบากและไม่คงรูป  ดังนั้นกระดาษที่เหมาะกับโมเดลกระดาษขนาดเล็ก 
จึงควรเป็น 130-180 แกรม  ซึ่งมีขนาดความหนาที่เหมาะสมมากที่สุด แต่หลายคนอาจจะไม่ชอบ 
เพราะกระดาษที่หนาขึ้นนั้น หมายถึงการทำโมเดลก็ยากขึ้นตามไปด้วย


ชนิดของกระดาษ

1. กระดาษ multi function 


 คือกระดาษที่พัฒนามาจากกระดาษ A4 ที่สามารถใช้งานกับปริ๊นเตอร์รุ่นใหม่ได้เช่น Inkjet  ,Laserjet ,Fax , Copyier, Etc เหมาะกับเครื่องพิมพ์ laser แต่สามารถใช้กับ ink jet ได้ แต่จะไม่อิ่มสี
เท่ากระดาษ laser  สำหรับมือใหม่ควรเลือกใช้กระดาษแบบนี้ก่อน ก่อนที่จะไปเลือกใช้กระดาษชนิดอื่นๆที่มีราคาสูงขึ้น 


2. กระดาษ inkjet


กระดาษแบบนี้จะมีราคาสูงที่สุดในกลุ่มกระดาษพิมพ์ เนื่องจากการทำกระดาษที่ต้องเคลือบสารต่างๆบนผิวกระดาษ
เพื่อให้เกิด effect และ การสะท้อน  ตัวอย่างกระดาษแบบนี้  เช่น 

2.1 กระดาษด้าน Matt  คือ กระดาษที่ผิวไม่สะท้อนแสง  ผิวด้าน
2.2 กระดาษมัน  Glossy คือ กระดาษที่ผิวสะท้อนแสง  ผิวมัน
2.1 กระดาษด้านโฟโต้ Photo คือ กระดาษที่เครือบผิวเพื่อความอิ่มตัวของสีสูงสุด 
      และอาจมีผิวแบบไม่เรียบได้
2.3 กระดาษมัน โฟโต้   Glossy Photo คือ กระดาษที่เครือบผิวเพื่อความอิ่มตัวของสีสูงสุด 
      และอาจมี   ผิวมันวาว 




ปริ๊นเตอรฺ์

ปริ๊นเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์  ทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท หลักๆ คือ

1. Inkjet Printer


 
      
เครื่องพิมพ์ราคาถูก มีราคาประมาณ 1500 บาทขึ้นไป และต้องใช้กระดาษ Inkjet paper 
หรือกระดาษ inkjet โฟโต้  เพื่อให้สีที่สวยงาม แต่ราคาจะแพงกว่ากระดาษ A4 ทั่วไป 
ความละเอียดของการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะสูงมาก มีไว้ใช้เพื่อการพิมพ์รูปถ่าย 
ส่วนความละเอียดที่ผมคิดว่าเหมาะสมกับงาน Paper Model ทั่วไป คือ 600x600 ก็เพียงพอ 
ซึ่ง Printer รุ่นใหม่ๆสามารถทำได้สบาย ความละเอียดที่สูงกว่านี้ทำให้ได้งานที่ขอบสีคมกว่า 
แต่จะเปลืองหมึกกว่า

ข้อเสีย
 งานจะไม่เหมือนงานโรงพิมพ์  ถ้าใช้กระดาษไม่ดีจะมีปัญหาเวลาทากาว  และ กระดาษจะเป็นขุย
ถ้าใช้ กระดาษ Photo จะพับ Model ยาก ต้องขูดร่อง เหมาะกับการต่อแบบสนุก ไม่ซีเรียสมาก 





2. Laser Printer


 มีราคาตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป ให้สีที่สวยงาม มันเงา 
หมึกพิมพ์จะมีราคาแพงมาก ใช้หมึก 4 ตลับ ต่อ 1 เครื่อง /  หมึก 1 ตลับสีประมาณ
2,500-3,000 บาท  หมึก 1 ตลับขาวดำประมาณ 2,000-3,000 บาท  และต้องมี
ค่า plate ราคาปรมาณ  5500-8000 บาท ต่อ 1 ชิ้น 

  ข้อเสีย
 มีราคาแพง 



เทคนิคเเละTips ในการต่อโมเดลกระดาษ

1 การพิมพ์โมเดลกระดาษ ขาวดำ หรือ ลายเส้น

นักทำโมเดลกระดาษ ฝั่งญี่ปุ่นจะมีการออกแบบโมเดลมาเป็นแบบลายเส้นที่ไม่มีสี
เพื่อเราจะไปพิมพ์บนกระดาษสีได้ นอกจากไม่เปลืองหมึกแล้วยังประยุกต์การใช้กระ
ดาษสีที่มีสีเรียบสม่ำเสมอมาใช้ได้อีก

โมเดลกระดาษ อาจจะมีแบบมาให้ 2 แบบคู่กัน  เช่น gundam จะมีแบบเป็นสี
กับ แบบเป็นลายเส้นเพื่อพิมพ์บนกระดาษสี เราสามารถเลือกใช้ที่เป็นแบบลายเส้นเพื่อพิมพ์ บนกระดาษนำมาพิมพ์บนกระดาษขาวธรรมดาครับ เพื่อเป็นการทดสอบพับและต่อดูก่อนที่จะต่องานตัวจริงที่เป็นสี





2 กระดาษที่ไม่ใช่สีขาว  เช่น สีทอง สีเงิน 

กระดาษ รุ่นใหม่ๆจะมีการทำออกมาเป็นแบบ Metalic คือมีความคล้ายโลหะมาก แต่จะแพงนิดๆคือแผ่น A4 ที่ 10 กว่าบาท มีให้เลือกหลากสีสวยงาม เราจะใช้กระดาษแบบนี้มาทำตัวโมที่ต้องการความมันวาวสูงกว่าปกติ ตัวเช่นตัวอย่างด้านล่าง



การใช้งาน เราต้องพิมพ์ที่ด้านหลังกระดาษ โดยการใช้โฟโต้ชอบกลับด้านงานของเราแบบกระจก แล้วสั่งพิมพ์บนหลังหลังกระดาษครับ และใช้ที่ขูดร่องทำลวดลายของกระดาษด้านหน้า หรือใครจะพิมพ์ด้านหน้าปกติก้อได้ถ้าพิมพ์ติดสีติดนะครับ



3 การพ่น clear หรือ แลกเกอร์ใส
 
Clear กระป่อง คือ สีแบบใสหรือสีชักเงากระป๋องใช้พ่นบางๆกันสีที่พิมพ์บนกระดาษแห้งเป็นขุย หลังจากการพิมพ์ออกมาแล้วจากเครื่องพิมพ์โดยเฉพาะพวก inkjet ควรพ่นเป็นอย่างมากครับและ ใช้เครือบเงาชิ้นงานหลังจากทำเสร็จแล้ว ให้งานเงางามและไม่เปื้อนง่ายได้อีกด้วย นานๆไปฝุ่นจับก้อเอาผ้าชุบน้ำพอ ชื้นๆมาเช็ดได้ด้วยครับ 




4 การย่อขนาด Model 
 
ใช้เพื่อลดขนาด model จากปกติให้มีขนาดเล็กลง เช่นจากสูง 6 นิ้ว เหลือสูง 3 นิ้ว ถ้าลดขนาดการพิมพ์ลงที่ 50 %  การที่เราจะต่อให้มีขนาดเล็กลงเพื่อลดการใช้กระดาษ และลดการใช้หมึกให้น้อยลง 
เพราะบางคน อยากได้โมเดลที่มีขนาดจิ๋วกว่าเดิม  แต่การต่อแบบนี้ต้องการความละเอียดมากขึ้น
ตามขนาดที่ลดลงไปด้วย ซึ่งอาจจะต้องได้ออกแบบใหม่ เพราะอาจจะไม่เหลือขอบสำหรับติดกาว 


 
การย่อทำได้ 2 วิธีคือ

1. photoshop หรือ โปรเเกรมออกแบบกราฟฟิคอื่นๆ
2. การสั่งพิมพ์ี่โดยลดขนาด%ของภาพที่พิมพ์ลง โดยการปรับที่เครื่องพิมพ์เวลาเลือกพิมพ์งาน Print



5 Card board
คือ กระดาษหนา 1 มม. ใช้เพื่อทำกระดูกงูของเรือหรือเครื่องบินขนาดใหญ่ เราจะพบได้ใน model ที่มีรูปร่างแปลกดังรูป






คำแนะนำสำหรับมือใหม่นะครับ

1. ควรเริ่มจากงานที่มี แผ่นงานน้อยชิ้น เช่น 1 แผ่น

2. ควรเริ่มจากงานที่มี ชิ้นงานที่ตัดออกมาแล้วน้อยชิ้น/แผ่น

3. การต่องานยากๆควรพิมพ์เป็น ขาวดำก่อน แล้วลองต่อเล่นก่อนการต่อแบบที่พิมพ์สี จะได้รู้การพับและมุมการต่อต่างๆ

4. การต่องานที่มีชิ้นแยะๆหลายแผ่น ควรเริ่มพิมพ์เฉพาะแผ่นแรกที่ต้องการต่อก่อน และลงมือต่อจนเสร็จจากนั้นค่อยพิมพ์แผ่นอื่นๆตามมา ไม่งั้นอาจมีงานค้างเต็มห้องไปหมด

5. มือใหม่ควรเริ่มจากงานที่ง่ายๆและมีคู่มือเช่นของ Canon ที่จะมีคู่มือการต่อให้ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจในการต่อโมเดลกระดาษ

6. ควรใช้กาวน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ และ อาจใช้ไม้จิ้มฟันช่วยในการทากาว 

7. การตัดต้องตัดให้ เส้นดำหายไป คือ ตัดด้านในของเส้นตัดแบบพอดีไม่งั้นจะมีปัญหาเวลาเชื่อมชิ้นส่วน ( อย่าตัดกลางเส้นดำ อย่าตัดเผื่อ และห้ามตัดเกิน )  


8. สุดท้าย ต้องใจเย็นๆครับ ต้องใจเย็นมากๆ และ ต้องให้เวลากับมัน 



ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากเว็บ  http://playfc.com 
เป็นเว็บที่สุดยอดมากเเละยังมีข้อมูลอื่นๆรวมทั้งโมเดลกระดาษ
มากมายให้ดาวน์โหลดด้วย  ใครสนใจไปชมได้เลยครับ ไม่ผิดหวัง

1 ความคิดเห็น: